สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวิภาวดี

คู่มือแนวทางการดำเนินงานโครงการ “สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า”

อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี ๒๕๖๑

------------------------------------------------

ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์มาสู่คนที่มีความรุนแรงมากผู้ป่วยต้องเสียชีวิตทุกรายเป็นผลมา จากอาการสมองและไขสันหลังอักเสบ ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว คันบริเวณรอยแผลที่ถูกสัตว์กัด ต่อมาจะ หงุดหงิด ตื่นเต้นไวต่อสิ่งเร้า (แสง เสียง ลม ฯ) ม่านตาขยาย น้ำลายไหลมาก กล้ามเนื้อคอกระตุกเกร็งขณะที่ผู้ป่วย พยายามกลืนอาหาร หรือสำลักเวลาดื่มน้ำ ทำให้เกิดอาการกลัวน้ำเพ้อคลั่ง สลับกับอาการสงบ ชัก ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะเกิดอาการอัมพาต โดยแขนขาอ่อนแรง กรณีไม่ได้รับการรักษาประคับประคอง มักป่วยอยู่ประมาณ 2-6 วัน และเสียชีวิตเนื่องจากอัมพาตของกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อไวรัส Rabies เป็น Rhabdovirus ใน genus “Lyssa virus” ซึ่งไวรัสทุกตัวใน genus นี้มี antigenicity ที่คล้ายคลึงกัน แต่จากการทดสอบด้วย Monoclonal antibody พบว่าไวรัสแต่ละตัว มี nucleo­capsid และรูปแบบของ surface protein ที่อาจแตกต่างกันในสัตว์แต่ละชนิด หรือในแต่ละภูมิภาคของโลก มีรายงานว่าเชื้อไวรัสที่คล้ายกับไวรัสพิษสุนัขบ้า ซึ่งพบในทวีปแอฟริกา (เชื้อไวรัส Mokola และ Duvenhage) และ ในทวีปยุโรป (เชื้อไวรัส Duvenhage) ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยคล้ายโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งในบางครั้งเมื่อตรวจด้วย FA test จะให้ผลบวกด้วยเช่นกัน แต่โรคเหล่านี้พบไม่บ่อยนัก

การระบาดของโรค

การระบาดของโรคส่วนใหญ่อยู่ในประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนา คาดว่ามีผู้เสียชีวิตปีละกว่า 55,000 คน ในประเทศไทยผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มลดลงตามลำดับจาก 370 คนในปี พ.. 2523 เป็น 30 คน ในปี พ.. 2545 และ 14 คน ในปี 2559 พบมากในภาคกลาง โรคพิษสุนัขบ้าในทวีปเอเชียมักมีสุนัขเป็นสัตว์นำโรคที่ สำคัญ ปัจจุบันในทวีปยุโรปยังมีปัญหาในสัตว์ป่า เช่น สุนัขจิ้งจอก ซึ่งหลังจากมีการใช้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัข บ้าชนิดกิน (Oral rabies vaccine) ทำให้อุบัติการณ์ของโรคลดลงไปมาก โดยเฉพาะสวิตเซอร์แลนด์ สามารถกำจัดโรคไปได้ในปี ค.. 1986 แต่ยังมีรายงานโรคนี้ในค้างคาวในเดนมาร์ค เนเธอร์แลนด์ และเยอรมันตะวันตก ส่วนในสหรัฐอเมริกา และแคนาดา ยังมีปัญหาโรคนี้ในสัตว์ป่า เช่น สกั๊งค์ แรคคูน และค้างคาว

สัตว์นำโรค

สัตว์นำโรค โรคนี้เป็นในสัตว์เลือดอุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดทั้งสัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่า เช่น สุนัข แมว สุนัขจิ้งจอก สุนัขป่า หมาไน สกั๊งค์ แรคคูน พังพอน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ในเม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ มีค้างคาวดูดเลือด ค้างคาวกินผลไม้ และค้างคาวกินแมลง เป็นสัตว์นำโรค ในประเทศกำลังพัฒนา สุนัขเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญ กระต่าย กระรอก หนูแร็ท และหนูไมซ์ อาจติดเชื้อได้ แต่พบ ไม่บ่อยนักในประเทศไทยสุนัขเป็นสัตว์นำโรคหลัก รองลงมาเป็นแมว 

Word Document ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 271.5 KB